Page 64 - 006
P. 64

53





                    ุ
                   พทธ แต่ไม่ได้ตั้งตัวเป็นศัตรูรุนแรงต่อกัน ศาสนาเชนไม่เคยเผยแพร่ออกไปนอกดินแดนที่เป็น
                                                   ุ
                   แหล่งกำเนิดของตนเช่นศาสนาพทธ แต่ศาสนาเชนก็มิได้สูญหายไปจากอินเดียอย่าง
                   พระพุทธศาสนาเลยเช่นเดียวกัน ศาสนาเชนยังคงมีอยู่เรื่อยมาจนกระทั่งทุกวันนี้ แม้จะเป็นส่วน
                   น้อยแต่ก็นับว่าสำคัญมากในประเทศอินเดีย

                          คำว่า “เชน” มาจากศัพท์ว่า “ชินะ” แปลว่า ชนะ หมายถึงการชนะกิเลสภายในใจของ
                   ตนเอง เพราะกิเลสเป็นสาเหตุของความเวียนว่ายตายเกิดของมนุษย์ ดังนั้น มนุษย์จึงต้อง

                   เอาชนะกิเลสให้ได้ ศาสนาเชนเชื่อว่า ศาสดาของศาสนาเชนทุกพระองค์ล้วนแต่เอาชนะกิเลสได้
                   เด็ดขาดสิ้นเชิง จึงได้นามว่า พระชินะ แปลว่า พระผู้ชนะกิเลส หรือบางครั้งเรียกว่าตีรถังกร
                                                                                              ้
                   แปลว่า ผู้ปราศจากเครื่องรัดรึง คือความยินดีหรือเสียใจ ได้แก่ราคะ เป็นผู้หลุดพน มีดวง
                   วิญญาณอันบริสุทธิ์เป็นอมตะ ทั้งนี้ สาวกของศาสนาเชนเชื่อว่า พวกเขามีศาสดาตีรถังกรมาแล้ว
                   24 พระองค์ (ปรากฏนามว่า ฤษภา อชิต สัมภว อภินันท สุมาติ ปัทมประภา สุภาสวา จันทร

                   ประภา บุษปทันต สีตลา เศรยานส วสุปุชง วิทลา อัตธรรม สันติ คุนธุ จรา มัลตี มุนรสุวรต นมิ
                   เนมิ ปารศวนาถ และองค์สุดท้าย คือ มหาวีระ)
                          ศาสดาตีรถังกร 22 พระองค์แรกไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ แต่ศาสดาตีรถังกร 2

                   พระองค์สุดท้าย คือ ปารศวนาถ และมหาวีระมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ปารศวนาถมีชีวิตอยู่
                   ก่อนหน้ามหาวีระเพียง 250 ปีเท่านั้น พระองค์เป็นโอรสในกษัตริย์อัศวเสนแห่งรัฐกาสี ได้เสด็จ

                   ออกผนวชเป็นฤาษี เมื่อมีพระชนมายุได้ 30 พรรษา และทรงทรมานพระองค์อยู่ 84 วัน ตรัสรู้
                                               ู่
                   ธรรม พระองค์มีพระชนม์ชีพอย 100 พรรษาเต็ม ส่วนมหาวีระซึ่งเป็นศาสดาตีรถังกรที่ 24 เป็น
                   องค์สุดท้ายและมีความสำคัญมากที่สุด  ดูเหมือนว่าตามข้อเท็จจริงนั้น มหาวีระได้ตั้งคณะใหม่
                                                     3
                   ของตนขึ้นมาบนนักบวชกลุ่มต่างๆที่มีอยู่ในเวลานั้น โดยพระองค์ยังสอนว่าพระองค์มิได้เป็น
                   ศาสดาองค์แรกของศาสนาเชน พระองค์เป็นเพียงผู้ค้นพบหลักธรรม

                          พระมหาวีระเป็นโอรสในกษัตริย์สิทธารถ มีพระมารดานามว่า  ตฤศาลา ผู้เป็นกนิษฐ
                   ภคินี (น้องสาว) ของกษัตริย์เชตละแห่งรัฐวิเทหะ มหาวีระมีพระนามเดิมว่า วรรธมาน ส่วนพระ

                                                                   ื่
                   นามว่ามหาวีระนั้นเป็นพระนามที่ประชาชนถวายเพอเฉลิมพระเกียรติแห่งความกล้าหาญที่
                   พระองค์สามารถจับช้างพลายตกมันเชือกหนึ่งที่หลุดจากโรงช้างต้นได้ เจ้าชายวรรธมานได้รับ

                   การบำรุงและการศึกษาเป็นอย่างดีทั้งวิชาการศึกษา การปกครอง ที่เป็นประโยชน์ต่อการ
                   ครองราชย์สมบัติ และวิชาฝึกม้า ยิงธนู หรือการทหาร เมื่อพระองค์ทรงพระชนมายุได้ 19

                   พรรษา ได้ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงยโสธรา และได้พระธิดาองค์หนึ่งชื่อว่า อโนชา หรือ

                   ปริยทรรศนา เจ้าชายวรรธมานกับพระชายาได้เสวยสุขในฆราวาสด้วยความสำราญจน

                   พระชนมายุได้ 28 พรรษา ก็มีความทุกข์โศกเสียใจอย่างมาก เนื่องจากพระบิดาและพระมารดา

                   ได้สิ้นพระชนม์ลง การสูญเสียผู้ให้กำเนิดทั้งสอง ทำให้เจ้าชายวรรธมานทรงเศร้าพระทัยมาก จึง


                          3  ดนัย ไชยโยธา. ประวัติศาสตร์เอเชียใต้ยุคโบราณ, หน้า 126.
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69