Page 63 - 006
P. 63
52
2. ทางด้านสังคม ระบบวรรณะได้ถูกดึงเข้ามาเป็นหลักทางศาสนา ในระยะที่ศาสนา
พราหมณ์รุ่งเรืองแล้ว สังคมอินเดียมีการแบ่งชั้นวรรณะกันหนาแน่นมากขึ้น มีการกำหนด
กฎเกณฑ์ระหว่างวรรณะมากขึ้น เช่น การห้ามแต่งงานระหว่างวรรณะ อาชีพบางอย่างก็สงวน
์
ไว้เฉพาะบางวรรณะเท่านั้น กฎเกณฑดังกล่าวนี้ ถ้าใครฝ่าฝืนอาจได้รับโทษหนักเบาแล้วแต่
กรณี การกำหนดวรรณะที่เข้มงวดมากนี้ ย่อมสร้างความไม่พอใจให้แก่คนบางกลุ่มที่มีความคิด
ที่จะเป็นอิสระ และยังเป็นผลเสีย ที่ก่อให้เกิดการขาดความสามัคคี อันเป็นจุดอ่อนประการ
หนึ่งในประวัติศาสตร์อินเดีย เมื่อมีศัตรูต่างชาติมารุกรานในระยะต่อมา
3. ทางด้านการเมือง พวกพราหมณ์มีบทบาทมาก และพยายามแสวงหาอำนาจมากขึ้น
จนเกือบจะสูงสุดและเหนือกว่ากษัตริย์ด้วย ทั้งนี้เพราะว่ากษัตริย์มีความจำเป็นต้องพึ่งพาพวก
พราหมณ์อยู่เสมอ ในการออกทำสงครามก็ต้องคอยให้พราหมณ์ทำพิธีอวยพรสรรเสริญ ดังนั้น
ึ่
ในทางการเมือง พราหมณ์จึงดูประหนึ่งเป็นที่พงของกษัตริย์ พวกพราหมณ์ถือว่าตนมีสิทธิ
พเศษและเป็นชนชั้นสูงในสังคม ดังนั้นจึงก่อให้เกิดความไม่พอใจให้กับพวกที่อยู่ในวรรณะอื่น
ิ
ื่
จากความไม่พอใจนี้เองที่ทำให้มีผู้ริเริ่มก่อหลักปรัชญาใหม่ๆขึ้นมากมาย เพอจะปฏิรูปสังคม
ศาสนาให้ดีขึ้น
ิ
ความเสื่อมของศาสนาพราหมณ์เกิดขึ้นจากความเอือมระอาของประชาชนในพธีรีตองที่
ิ
มากจนเกินไป ระบบวรรณะมีความเข้มงวดขึ้น พวกพราหมณ์มีบทบาทในศาสนพธี การทำ
ิ
พธีกรรมกลายเป็นพธีที่ยุ่งยากและสลับซับซ้อน รวมถึงต้องเสียค่าใช้จ่ายอย่างมาก นักบวช
ิ
ิ
พราหมณ์กลายเป็นผู้มีฐานะร่ำรวย เนื่องจากต้องทำพธีกรรมให้กับประชาชนหลายอย่าง เป็น
ต้นว่า พิธีเกิด พิธีโกนจุก หรือพิธีบูชายัญเพื่อขอบุตรชาย
ระบบวรรณะที่เข้มข้นขึ้น มีส่วนสำคัญต่อความนึกคิดของผู้คนในสังคม บุคคลในวรรณะ
ต่ำหรือศูทร หรือจัณฑาลกลายเป็นบุคคลที่ไม่ได้รับการนับถือและต่ำต้อยเป็นอย่างมากในสังคม
พวกวรรณะต่ำจึงไม่ชอบวรรณะสูง ส่วนบุคคลในวรรณะกษัตริย์และวรรณะแพศย์ก็ไม่พอใจใน
ความยิ่งใหญ่ของพวกพราหมณ์ แม้ว่าบุคคลในวรรณะกษัตริย์และวรรณะแพศย์ต่างมีกำลัง
กองทัพและทรัพย์สินมากกว่าพวกพราหมณ์ แต่กลับได้รับการยอมรับจากสังคมน้อยกว่า จาก
ความไม่พอใจนี้เอง ทำให้มีผู้ริเริ่มก่อหลักปรัชญาใหม่ๆขึ้นมากมาย เพื่อจะปฏิรูปสังคมศาสนาให้
ดีขึ้น ในบรรดาปรัชญาและความคิดใหม่ๆที่เกิดขึ้น มีเพียง 2 หลักศาสนาเท่านั้นที่มีความสำคัญ
ในสมัยต่อมา คือศาสนาเชน (Jainism) และศาสนาพุทธ (Buddhism) ซึ่งผู้ริเริ่มทั้งสองคือ พระ
มหาวีระ และพระสิทธัตถะ ซึ่งต่างก็เป็นผู้ที่อยู่ในวรรณะกษัตริย์ทั้งสิ้น
ศาสนาเชน
ศาสนาเชนเป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดศาสนาหนึ่ง อุบัติขึ้นในอินเดียในระยะเวลาเดียวกัน
และในอาณาบริเวณเดียวกันกับพทธศาสนา และแม้จะเคยเบ่งบานรัศมีของตนแข่งกับศาสนา
ุ