Page 51 - 006
P. 51

40


                   ชาวอินโด-อารยันในสมัยพระเวท

                          เมื่อแรกเริ่มที่ชาวอารยันได้เดินทางเข้าสู่อินเดียเมื่อราว 2,000 ปีก่อนคริสตกาลหรือ
                   4,000 ปีมาแล้วนั้น พื้นที่ในอัฟกานิสถานเป็นพื้นที่แรกๆที่ชาวอารยันได้เข้ามาตั้งรกรากอยู่ โดย
                   มีอาณาบริเวณหลักอยู่ 2 ที่ได้แก่ แถบเมืองคาบูล (Kabul) ในปัจจุบัน โดยเฉพาะทางตะวันออก

                   ไปจนถึงเมืองเปชวาร์ (Peshawar) และอีกที่หนึ่งได้แก่บริเวณรอบๆเมืองกันทาฮาร์
                                                           5
                   (Kandahar) ซึ่งเชื่อมต่อไปจนถึงเมืองเควตตา  (Quetta) ผ่านช่องเขาโบลัน (Bolan Pass) จาก
                   ข้อความที่ปรากฏในฤคเวท ทำให้เชื่อกันว่าชาวอารยันอพยพออกจากบริเวณนั้นในราว 1400 ปี
                                                      ื้
                   ก่อนคริสตกาล ผ่านแม่น้ำต่างๆเข้าสู่พนที่ในแถบหุบเขาสวัต (Swat Valley) แคว้นปัญจาบ
                   และลงหลักปักฐานอยู่เป็นเวลาหลายร้อยปี

                          อย่างไรก็ตาม พวกอารยันในช่วงแรกไม่ได้รวมกันเป็นปึกแผ่น แต่แบ่งเป็นเผ่าต่างๆ
                   มากมาย เผ่าเหล่านี้ได้สู้รบกันเพอแย่งความเป็นใหญ่ เวลาต่อมาเผ่าภารตะสามารถปราบเผ่า
                                                ื่
                   อื่นๆลงได้สำเร็จ เผ่าภารตะจึงได้เป็นผู้มีอำนาจมากที่สุดในดินแดนแถบนั้น ทั้งนี้ จากหลักฐาน
                   ในคัมภีร์พระเวทสามารถแสดงวิถีชีวิตในแง่มุมต่างๆของชาวอารยันในสมัยแรกเริ่มได้ ดังนี้
                          1.  องค์กรทางการเมือง ดังที่กล่าวไว้แล้วว่าในช่วงแรก ชาวอารยันอยู่กันเป็นระบบ

                                                                                         ่
                   ชนเผ่า (tribe) มีหัวหน้าเผ่าเรียกว่า “ราชา” การปกครองเป็นไปในลักษณะพอบ้านปกครอง
                   ลูกบ้าน เมื่อเวลาผ่านไป ความจำเป็นที่จะต้องมีผู้คุ้มครองที่มีความสามารถและกล้าหาญมีมาก

                   ขึ้น ดังนั้น จึงมีการเลือกผู้ที่เข้มแข็งและมีความสามารถขึ้นเป็นกษัตริย์หรือหัวหน้าของตน
                   หัวหน้าที่ได้รับเลือกจะเริ่มได้อภิสิทธิ์ในรูปการปกครองระบอบราชาธิปไตยทีละน้อย แต่ละเผ่า
                   จะมี “สภา” (sabha) และ “สมิติ” (samiti) เป็นที่ปรึกษาคอยให้ความช่วยเหลือต่อหัวหน้าเผ่า

                   ในการปกครอง
                                 สภา เป็นสภาการเมืองที่สำคัญในยุคพระเวทตอนต้น ถือเป็นสภาผู้เฒ่า สภามี

                   ประธาน สมาชิกสภาพของสภามีขอบเขตจำกัด สภารับภารกิจทั้งทางการเมืองและไม่ใช่ทาง
                   การเมือง สภานี้มีอำนาจอยู่จนถึงราว 500 ปีก่อนคริสตกาลแล้วอำนาจก็เสื่อมไป
                                 สมิติ เป็นสภามหาชน คำว่า สมิติหมายถึงการประชุมร่วมกัน สมิติเป็นสภา

                   แห่งชาติของประชาชนทุกคน หน้าที่สำคัญของสมิติคือ การเลือกผู้นำหรือราชาและการป้องกัน
                   ประเทศ สมิติมีประธาน 1 คน เรียกว่า อิสานะ หน้าที่สำคัญของประธานคือ การควบคุมความ

                   ประพฤติของการประชุมสมิติให้เป็นไปตามระเบียบ สมิตินี้เสื่อมไปในราว 600 ปีก่อนคริสตกาล
                          นอกจากนี้ยังมีตำแหน่งราชการที่สำคัญอีก 2 ตำแหน่ง คือ ปุโรหิต และเสนานี  ปุโรหิต
                   เป็นทั้งพระและโหร เป็นผู้คอยถวายคำแนะนำที่สำคัญ เป็นครูทางจิตใจของกษัตริย์และเป็นผู้

                   ประกอบพธีกรรมทางด้านศาสนาให้แก่กษัตริย์ ในยามศึกสงครามปุโรหิตจะติดตามกษัตริย์ไป
                             ิ
                                                                         ื่
                                        ิ
                   สนามรบด้วย เพอทำพธีสวดอ้อนวอนต่อพระผู้เป็นเจ้าเพอให้กษัตริย์ทรงประสบชัยชนะ
                                   ื่
                   ในขณะที่เสนานีเป็นผู้บัญชาการกองทัพ ซึ่งมีอิทธิพลมากเช่นเดียวกัน
                            ตำแหน่งราชาหรือกษัตริย์มักสืบทอดกันทางสายโลหิต หน้าที่สำคัญประการแรกของ
                   ราชาในสมัยพระเวท คือ เป็นผู้นำในการทำศึกสงครามและปกป้องคุ้มครองเผ่าของตน เพื่อเป็น




                          5  ปัจจุบันอยู่ในประเทศปากีสถาน
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56