Page 49 - 006
P. 49
38
ทวีปอินเดีย พวกนี้เรียกว่า “อินโด-อารยัน” (Indo- Aryan) หรือ อารยัน
ดังนั้น คำว่า “อารยัน” (Aryan) “อิหร่าน” (Iran) “ไอร์” (Ire) ซึ่งหมายถึงดินแดน
ปลายสุดทางทิศตะวันตกที่คนกลุ่มนี้เคยไปถึง (คือ ไอร์แลนด์ปัจจุบัน) ก็มาจากรากศัพท์
เดียวกัน และมีความหมายเหมือนกัน คือ หมายถึง ผู้มีความเจริญ หรือ อารยะ (Arya) นั่นเอง
ภาพที่ 18 การแพร่กระจายของชาวอารยัน
ที่มา : https://upload.wikimedia.org/[Online], accessed 27 October 2018.
หลักฐานสำคัญที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับพวกอารยันที่เข้ามาในเอเชียใต้ คือ คัมภีร์พระเวท
(Vedas) ซึ่งให้รายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ ความเชื่อทางศาสนา และสถาบัน
ต่างๆของชาวอารยันที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในเอเชียใต้ในระยะแรกๆ ด้วยเหตุนี้นักประวัติศาสตร์จึง
เรียกช่วงเวลานี้ว่า “สมัยพระเวท”
คัมภีร์พระเวทเป็นคัมภีร์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก เป็นบันทึกประวัติศาสตร์ของโลกและ
ประวัติศาสตร์ของอนุทวีปอินเดีย โดยพราหมณ์ได้ท่องจำสืบต่อกันมาก่อนที่จะบันทึกลาย
ลักษณ์อักษรเมื่อประมาณ 1,500 ปีก่อนคริสตกาล คำว่า “เวท” แปลว่า ความรู้ ซึ่งในที่นี้
หมายถึงความรู้ทางศาสนา หรือความรู้ทางจิตใจ เขียนด้วยภาษาสันสกฤตโบราณอันเป็นภาษา
ในตระกูลอินโด-ยูโรเปียน คัมภีร์พระเวทเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาพราหมณ์ ซึ่งต่อมาได้
วิวัฒนาการเป็นศาสนาฮินดูและมีความสำคัญต่อชาวฮินดูเป็นอย่างมาก คัมภีร์พระเวทเป็น
หลักฐานชิ้นแรกทางประวัติศาสตร์ที่กล่าวถึงความเชื่อทางศาสนาของชาวฮินดู เป็นบทสวดบูชา
เทพเจ้าหลายองค์และสวดท่องจำจนขึ้นใจสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน โดยชาวฮินดูถือว่าคัมภีร์
พระเวทไม่ใช่ผลงานที่เกิดขึ้นโดยมนุษย์ แต่เป็นพระวัจนะของพระเจ้าที่ถ่ายทอดแก่ฤาษีหรือผู้รู้
ในสมัยโบราณ พวกฤาษีทั้งหลายเมื่อเรียนรู้พระเวทจากพระพรหมแล้วก็สั่งสอนถ่ายทอดให้แก่
สานุศิษย์ต่อๆมา ก็คือ พวกพราหมณ์ โดยในระยะแรกพวกพราหมณ์ผู้เป็นนักบวชได้ผูกขาดบท
สวดเหล่านี้เป็นความลับ และมอบเป็นมรดกตกทอดประจำตระกูล หรือให้ท่องจำจากปาก
อาจารย์ถึงศิษย์เท่านั้น แต่ในที่สุดก็ได้รับการรวบรวมจารึกลงเป็นลายลักษณ์อักษร