Page 143 - 006
P. 143
132
พิธีกรรมบูชาบวงสรวงในโบสถ์วิหาร นอกจากนี้เขายังเป็นผู้ก่อตั้งวิทยาลัยทางศาสนาถึง 4 แห่ง
ตามมุมเมืองต่างๆทั้ง 4 ทิศอีกด้วย
ศาสนาฮินดูยังเป็นศาสนาที่กษัตริย์ในราชวงศ์คุปตะนับถือและให้การอุปถัมภ์ โดย
ไวษณพนิกาย ซึ่งบูชาพระวิษณุเป็นเทพสูงสุด กลายเป็นนิกายหลักในราชสำนัก ไวษณพนิกาย
22
พัฒนามาจากลัทธิภควตา ดังนั้น จึงพบว่ากษัตริย์ในราชวงศ์คุปตะมักเรียกตนเองว่าเป็นศิษย์
แห่งภควตา เช่น พระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 2 ทรงเรียกพระองค์เองว่า ปะระมะ ภควตา (Parama
Bhagavata) เป็นต้น การบูชาอวตารทั้งสิบของพระวิษณุก็ค่อยๆเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน
ในยุคนี้ยังได้เกิดวรรณกรรมต่างๆขึ้นมากมายที่สำคัญคือ คัมภีร์ปุราณะ ซึ่งเนื้อหาจะ
เป็นเรื่องประวัติของจักรวาล นับตั้งแต่การสร้างจนถึงการทำลาย รวมไปถึงลำดับวงศ์ของ
กษัตริย์ วีรบุรุษ ทวยเทพ ฤษี คัมภีร์ปุราณะประกอบด้วยมหาปุราณะ 18 เล่ม และอุปปุราณะ
อีก 18 เล่ม คุณสมบัติของมหาปุราณะ คือ ต้องมีการระบุถึงเรื่องราว 5 ประการ ซึ่ง
23
ประกอบด้วย
- สรรค (Sarga) การสร้างโลกหรือจักรวาล
- ประติสรรค (Pratisarga) การทำลายและการสร้างใหม่เป็นช่วงๆ
- วัมศะ (วงศ์) (Vamsa) เรื่องราวเกี่ยวกับวงศ์ต่างๆ เช่น สุริยวงศ์ จันทรวงศ์
- มันวันตระ (Nanvantara) ยุคต่างๆ 14 ยุค
- วงศานุจริต (Vamshanucharita) เรื่องราวของราชวงศ์
ทั้งนี้ ในมหาปุราณะ 18 เล่ม ยังสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ตามเทพหลัก 3 องค์ ที่
เรียกว่าตรีมูรติ ได้แก่
• กลุ่มพระพรหมา – ผู้สร้าง เล่าเรื่องเกี่ยวกับการสร้าง ได้แก่ พรหม-ปุราณะ
พรหมาณฑ-ปุราณะ พรหมไววรรต-ปุราณะ มารกัณเฑย-ปุราณะ ภวิษย-ปุราณะ วามน-ปุราณะ
• กลุ่มพระวิษณุ – ผู้รักษา เป็นเรื่องราวอวตารต่างๆของพระวิษณุ ได้แก่ วิษณุ-
ปุราณะ ภาควต-ปุราณะ นารทียะ-ปุราณะ ครุฑ-ปุราณะ ปัทม-ปุราณะ ปัทม-ปุราณะ วราห-
ปุราณะ
• กลุ่มพระศิวะ – ผู้ทำลาย ได้แก่ วายุ-ปุราณะ ลิงค-ปุราณะ สกันท-ปุราณะ
อัคนิ-ปุราณะ มัสย-ปุราณะ กูรม-ปุราณะ
ในขณะที่ไศวนิกายก็ยังคงได้รับการนับถืออย่างต่อเนื่อง ซึ่งแม้ว่าราชวงศ์คุปตะจะ
สนับสนุนไวษณพนิกายเป็นหลัก แต่ในราชสำนักก็ไม่ได้มีการผูกขาดการนับถือเพียงนิกายเดียว
ดังจะเห็นได้ว่าที่ปรึกษาส่วนพระองค์อย่างน้อย 2 คนของพระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 2 เป็นผู้ที่นับถือ
ไศวนิกาย ซึ่งแสดงว่ารัฐให้อิสระในการนับถือศาสนา ไม่จำเป็นต้องนับถือตามผู้ปกครองแต่
อย่างใด
22 แต่เดิม ภควตาเป็นลัทธิของพวกสัตตวะ ซึ่งเป็นชาวท้องถิ่นในมถุรา นับถือเทพวสุเทวะ-กฤษณะเป็นเทพสูงสุด ต่อมาได้มี
การนำบุคลิกลักษณะของพระวิษณุมาผสมกลมกลืนกับวสุเทวะ-กฤษณะ จนกระทั่งลัทธินี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของไวษณพนิกาย เห็นได้
อย่างชัดเจนคือ พระวสุเทวะ-กฤษณะกลายเป็นอวตารหนึ่งของพระวิษณุคือ กฤษณวตาร และแม้คำว่าไวษณวะจะเป็นที่รู้จักกันแล้ว
ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 10-11 แต่เพิ่งมานิยมใช้กันในช่วงพุทธศตวรรษที่ 14 เป็นต้นไป ดังนั้น ในสมัยคุปตะนี้จึงยังนิยมใช้คำว่าลัทธิภค
วตาอยู่
23 จิรัสสา คชาชีวะ. โบราณคดีอินเดีย, หน้า 223.