Page 140 - 006
P. 140

129


                                       ่
                             • สมาคมพอค้า ระบบสมาคมซึ่งถือเป็นองค์กรด้านการค้าและอุตสาหกรรมปรากฏ
                   ขึ้นในอินเดียตั้งแต่ยุคต้นประวัติศาสตร์แล้ว ตามหลักฐานที่ปรากฏในคัมภีร์อรรถศาสตร์ได้
                   บรรยายถึงสมาคมช่างทำทองไว้อย่างละเอียด ในขณะที่ในสมัยคุปตะสมาคมยิ่งมีความเข้มข้น
                   มากขึ้น เนื่องจากมีความหลากหลายของอาชีพและการค้า

                          จากจารึกและตราประทับที่กำหนดอายุอยู่ในสมัยคุปตะเป็นต้นว่า ตราประทับที่ขุดค้น
                   ได้ที่แหล่งโบราณคดีพาสาร์ห (Basarh) ในเมืองเวสาลี (Vaisali) ได้พบตราประทับราว 274 ชิ้น

                                               ่
                   ซึ่งเป็นของสมาชิกในสมาคมพอค้า ธนาคาร  ศิลปิน ช่างฝีมือ คนทอผ้า ช่างตัดหิน ฯลฯ
                   กระจายอยู่ทั่วเมือง โดยตราประทับทั้งหมดมีอายุอยู่ในราวพทธศตวรรษที่ 10 หรือปลาย
                                                                            ุ
                   คริสต์ศตวรรษที่ 4 ซึ่งแสดงให้เห็นความแข็งแกร่งและหลากหลายของสมาคมในยุคนี้ได้เป็น

                   อย่างดี
                          สมาคมต่างๆเหล่านี้มีหน้าที่เหมือนธนาคาร คือทำการฝากเงินและให้กู้เงิน โดยมี

                   กฎหมายและระเบียบของตนเอง รัฐบาลเองก็ให้ความเคารพกฎระเบียบของสมาคมด้วย เงิน
                   ฝากของสมาคมยังถูกนำไปช่วยในงานการกุศลต่างๆ จากตัวอย่างที่ปรากฏในจารึกคธวะ
                                                                                                 18
                   (Gadhwa) ของพระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 2 ได้กล่าวว่า เงินฝากของพระองค์ 10 ดินาร่าทองคำ  ถูก
                       ื่
                   ใช้เพองานการกุศลหรือโรงทาน ในขณะที่พระเจ้ากุมารคุปต์ได้ใช้เงินฝากจากสองสมาคมเพื่อ
                   ทำนุบำรุงศาสนาและเป็นกองทานอยู่เสมอ ในกรณีฉุกเฉินสมาคมมีสิทธิ์ที่จะสร้างกองทหาร

                   อาสาได้ เพอรักษาความปลอดภัยในตัวบุคคลและสินค้าสำคัญๆของสมาชิก สมาคมยังมีส่วน
                             ื่
                                                                   19
                   ส่งเสริมการศึกษาทั้งด้านอาชีพเฉพาะและอาชีพทั่วไป  อีกทั้งยังมีส่วนในการบริจาคเงินและ
                   สิ่งของเพื่อสร้างหรือปฏิสังขรณ์วัดอีกด้วย สมาคมในสมัยคุปตะจึงมีความสำคัญกับระบบการค้า

                   ทั้งภายในและภายนอกประเทศ ในฐานะที่เป็นผู้บริหารจัดการตัวสินค้า และบริหารจัดการ
                   สภาพคล่องทางการลงทุนด้วยการปฏิบัติตนเสมือนนายธนาคารนั่นเอง

                                   ี
                             • ภาษที่ดิน นอกจากภาษีที่เสียเป็นผลิตผลทางการเกษตรซึ่งเก็บเป็นประจำจาก
                   บุคคลที่เข้ามาขายสินค้าในตลาด รวมไปถึงภาษีจากการทำป่าไม้ และทำปศุสัตว์แล้ว ภาษีที่ดิน
                   เป็นภาษีอีกประเภทหนึ่งที่นำรายได้เข้ารัฐอย่างมหาศาล ตามธรรมเนียมแต่ครั้งโบราณกาลมา

                   ผืนดินถือเป็นทรัพย์สมบัติของกษัตริย์ ในบันทึกของเมกาเธเนส ทูตที่เข้ามาในราชสำนักสมัย
                   ราชวงศ์โมริยะได้บันทึกไว้ชัดเจนว่า พระมหากษัตริย์ของอินเดียเป็นเจ้าของแผ่นดินในประเทศ

                   ทั้งหมด ประชาชนจะต้องจ่ายภาษี 1 ใน 4 ของผลผลิตทั้งหมดเข้าท้องพระคลัง อย่างไรก็ดี ใน
                   สมัยคุปตะนั้นกษัตริย์ได้พระราชทานที่ดินให้แก่วัด องค์กรทางศาสนา รวมไปถึงนักบวชแล้วเก็บ
                   ภาษีจากคนกลุ่มนี้ โดยรัฐจะเก็บภาษี 1-6 ส่วนจากผลผลิตที่ผลิตได้ในที่ดินนั้นๆหรือจากที่

                   เจ้าของที่ดินที่ขายผลผลิตได้ สิ่งที่น่าสนใจคือ ภาษีที่ดินในแต่ละที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบเดียวกัน
                   เสมอไป บางแห่งให้เป็นผลิตผลทางการเกษตร บางแห่งจ่ายเป็นเงินสดหรือให้เป็นบางส่วนของ

                   ผลผลิตทั้งหมด





                          18  ดินาร่า (Dinaras) เป็นเหรียญทองคำของอินเดียโบราณซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากโรมัน
                          19  ดนัย ไชยโยธา. ประวัติศาสตร์เอเชียใต้ยุคโบราณ, หน้า 342.
   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145