Page 209 - 001
P. 209

198


                          พระสถูปหมายเลข 1 ได้รับการต่อเติมขึ้นในสมัยราชวงศ์ศุงคะและอานธระ โดย

                   แกนในองค์พระสถูปแต่เดิมที่สร้างขึ้นด้วยอิฐถูกคลุมทับด้วยแผ่นหินสี่เหลี่ยม ขยายองค์พระ
                   สถูปขึ้นราวหนึ่งเท่าครอบพระสถูปองค์เดิม (ปัจจุบันจึงมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางราว 120
                   ฟุต) มีการสร้างรั้วหินแทนที่รั้วไม้ล้อมรอบทางเดิน โดยให้หินสลักเลียนแบบโครงสร้างของไม้

                   เดิม โตรณะหรือประตูทางเข้า 4 ด้าน 4 ทิศก็ทำด้วยหิน สร้างเลียนแบบเครื่องไม้
                   เช่นเดียวกัน ประกอบไปด้วยเสา 2 ต้นปักตั้งขึ้น และคานยาว 3 ชิ้นวางพาดยึดเสาทั้งสอง 3

                   ชั้น บริเวณเสาและคานมีการแกะสลักอย่างสวยงามเป็นประติมากรรมนูนต่ำและลอยตัว มี
                                 ุ
                   ทั้งเรื่องราวในพทธประวัติ ลายพรรณพฤกษา สัญลักษณ์ เทพ เทพี ยักษา และยักษี
                          นอกจากสถูปแห่งสาญจีแล้ว ยังปรากฏสถูปที่สำคัญต่างๆทั่วภูมิภาคอินเดีย เช่น

                                 14
                   สถูปแห่งภารหุต  สถูปแห่งอมราวดี สถูปแห่งนาคารชุณโกณฑะ และสถูปแห่งตักษิลา เป็น
                                                                             ี
                   ต้น ทั้งนี้ สถูปแห่งภารหุตได้ถูกทำลายไปหมดแล้ว หลงเหลือเพยงส่วนประกอบของสถูป
                   เช่น รั้ว ประตู และเสา โดยรั้วจะประดับภาพสลักในวงกลมเป็นเรื่องราวชาดกหรือพทธ
                                                                                                ุ
                   ประวัติ แต่ยังคงใช้สัญลักษณ์แทนพระพุทธองค์อยู่
                                                                                   ั
                          ส่วนสถูปแห่งอมราวดี ซึ่งอยู่บริเวณทางตอนใต้ของอินเดีย ก็พงทลายไปเหลือแต่
                     ี
                   เพยงส่วนฐาน แต่ยังสามารถศึกษาลักษณะและรายละเอียดของสถูปได้จากร่องรอยที่ยัง
                   หลงเหลือและแผ่นหินสลักที่ปรากฏเป็นภาพประติมากรรมนูนต่ำ ซึ่งพบว่าสถูปแห่งอมราวดี

                   มีองค์ระฆังและฐานที่สูงกว่าสถูปแห่งสาญจี ตลอดจนมีลวดลายประดับมากขึ้น องค์ระฆังมี
                   มุขยื่นออกมาและประกอบด้วยเสา 5 ต้น รู้จักกันในนามว่าเสาอายกะ (Ayaka) ลักษณะเด่น
                   อีกประการหนึ่งของสถูปแห่งอมราวดี คือ การประดับภาพสลักลงบนองค์ระฆัง ส่วนใหญ่เป็น

                               ุ
                                                                                  ุ
                   เรื่องราวในพทธประวัติ และลวดลายประดับอื่นๆ ภาพสลักเล่าเรื่องพทธประวัติมีทั้งที่ใช้
                                                                                   15
                                          ุ
                                                                         ุ
                   สัญลักษณ์แทนองค์พระพทธเจ้า และที่ปรากฏเป็นองค์พระพทธรูปแล้ว  คาดว่าสถูปแห่ง
                                                                 ุ
                   อมราวดีได้ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกในพทธศตวรรษที่ 3 และได้รับการต่อเติม
                   เรื่อยมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 9-11
                          ในขณะที่สถูปทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือพบในแถบคันธาระและทางตอนเหนือของ
                   อัฟกานิสถาน แหล่งที่สำคัญได้แก่ที่ตัก-ไบ (Takht-i-bhai) และกุลทะระ (Guldara) ส่วน
                   สถูปสำคัญที่เมืองตักษิลาคือ สถูปธรรมราชิก (Dharmarajika) ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะสร้าง

                   ขึ้นในสมัยราชวงศ์โมริยะ สถูปแห่งนี้มีการต่อเติมในหลายช่วงระยะเวลา เช่น มีการสร้างชั้น
                   บันไดเพิ่มขึ้นทั้ง 4 ทิศในราวพทธศตวรรษที่ 8 เป็นต้น สถูปที่น่าสนใจอีกที่หนึ่งได้แก่ สถูป
                                              ุ
                   กุลทะระ เนื่องจากองค์ระฆังยืดตัวสูงแตกต่างจากสถูปในภาคกลางของอินเดียอย่างชัดเจน
                                                                                                  16







                          14  ตั้งอยู่ห่างจากเมืองอัลลาหาบัดไปทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 160 กิโลเมตร
                          15  จิรัสสา คชาชีวะ. โบราณคดีอินเดีย, หน้า 360.
                          16  Upinder Singh. A History of Ancient and Early Medieval India from the Stone Age to the 12th Century,
                   p. 449.
   204   205   206   207   208   209   210   211   212   213   214