Page 14 - 001
P. 14

3


                                                              ื้
                   แม่น้ำสายหลักในการทำเกษตรกรรมในเขตพนที่แห้งแล้งของประเทศ นอกจากนี้ยังเป็น
                   แหล่งกำเนิดอารยธรรมโบราณของอินเดีย คือ อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ (Indus Civilization)
                   เมื่อกว่า 4500 ปีมาแล้วอีกด้วย
                          ในขณะที่แม่น้ำคงคา  ไหลลงมาทางตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อเข้าสู่เมืองอัลลาฮาบัด

                   (Allahabad) ก็ได้ไหลมารวมกับแม่น้ำยมุนา (Yamuna) แล้วจึงลงสู่อ่าวเบงกอลบริเวณดินดอน
                                                                 ื้
                   สามเหลี่ยมปากแม่น้ำขนาดใหญ่ (Delta) ซึ่งกินพนที่กว่า 350 กิโลเมตรในดินแดนของทั้ง
                   ประเทศอินเดียและบังคลาเทศ ส่วนแม่น้ำพรหมบุตร (Brahmaputtra) ซึ่งเป็นแม่น้ำสำคัญอีก
                   เส้นหนึ่งที่ไหลมาจากที่ราบสูงทิเบต ก็ได้มารวมกับแม่น้ำคงคาในเขตบังคลาเทศก่อนจะไหลลงสู่
                   อ่าวเบงกอลในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเช่นเดียวกัน

                          บริเวณที่ราบอันกว้างใหญ่ที่แม่น้ำคงคาไหลผ่านหรือที่เรียกกันว่าที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคา
                   เป็นพนที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่อยู่อาศัยของมนุษย์และการทำเกษตรกรรม ดังนั้น
                        ื้
                   ตั้งแต่โบราณกาลมาแล้ว ที่ชาวอินเดียโบราณจะลงหลักปักฐานในดินแดนแห่งนี้กันอย่าง
                   หนาแน่น เมืองโบราณอันยิ่งใหญ่หลายเมืองที่ปรากฏชื่ออยู่ในคัมภีร์พระเวท คัมภีร์ใน
                   พระพุทธศาสนาและบันทึกทางประวัติศาสตร์ ก็ได้ก่อร่างสร้างเมืองและเจริญรุ่งเรืองขึ้นในพื้นที่

                   แถบนี้ อย่างไรก็ดี ความอุดมสมบูรณ์ของภูมิภาคนี้ก็กลับนำความลำบากมาให้แก่ผู้อยู่อาศัยด้วย
                   เช่นเดียวกัน เนื่องจากความรุ่งเรืองดังกล่าวเป็นสิ่งยั่วยวนให้กลุ่มคนจากภายนอกเข้ามา

                   ปล้นสะดมและหาประโยชน์ในพื้นที่อยู่เสมอ
                          3. เขตที่ราบสูงเดคข่าน (Deccan Plateau) เป็นดินแดนทางตอนใต้ถัดจากที่ราบลุ่ม
                                               ื้
                   แม่น้ำคงคาลงไป สัณฐานของพนที่มีลักษณะเป็นคาบสมุทร (Peninsular) ทำให้บางครั้งมีการ
                   เรียกพื้นที่ราบสูงแห่งนี้ว่า แหลมเดคข่าน หรือ คาบสมุทรเดคข่าน ดินแดนในบริเวณนี้ส่วนใหญ่
                   แห้งแล้งและเต็มไปด้วยภูเขาน้อยใหญ่และทิวเขายาว มีเทือกเขาวินธัย (Vindhya) กั้นดินแดน

                   ภาคเหนือกับภาคใต้ ในขณะที่ทิวเขาฆาต (Ghats) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกและมีความสูงมากกว่า
                   ทิวเขาฆาตทางทิศตะวันออก
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19