Page 42 - 006
P. 42
31
5
การเขียนจากขวาไปซ้ายในบรรทัดแรก เมื่อลงมาบรรทัดที่ 2 จะเขียนสลับเป็นซ้ายไปขวา
(boustrophedon)
แม้จะมีความพยายามในการอ่านหรือแปลความหมายของอักขระดังกล่าว แต่ก็ยังไม่มี
ผู้ใดอ่านได้อย่างแท้จริง มีความพยายามที่จะสันนิษฐานว่าหน้าที่ของตราประทับดังกล่าวนี้คือ
อะไร ซึ่งเท่าที่มีการสันนิษฐานไว้ได้แก่ ใช้ในการซื้อขายสินค้า ใช้เป็นเครื่องราง ใช้เป็นวัตถุระบุ
ตัวตน (เช่นเดียวกันกับบัตรประชาชน) สำหรับกลุ่มชนชั้นนำในสังคม เป็นต้นว่า เจ้าของที่ดิน
่
(landowners) พอค้า (merchants) นักบวช (priests) ช่างฝีมือ (artisans) และผู้ปกครอง
(rulers) ในขณะที่ตราประทับที่เป็นรูปคล้ายเหตุการณ์เล่าเรื่องอาจจะถูกใช้ในพธีกรรมทาง
ิ
ศาสนาก็เป็นได้
2.4 ศาสนาและความเชื่อ การแปลความในเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อในวัฒนธรรม
ฮารัปปาไม่สามารถอาศัยจารึกเป็นตัวช่วยได้เนื่องจากยังไม่มีใครสามารถอ่านตัวอักษรได้อย่าง
แน่ชัด ดังนั้น จึงต้องศึกษาจากตราประทับ ประติมากรรมและลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่ยัง
หลงเหลืออยู่
แนวคิดแรกเกี่ยวกับความเชื่อคือ ความเชื่อในเรื่องเทพพระแม่ (mother goddess)
ี
อันเป็นความเชื่อหลักที่สำคัญในวัฒนธรรมฮารัปปา โดยความเชื่อดังกล่าวมีพื้นฐานมาจากการ
เป็นสังคมเกษตรกรรมซึ่งต้องการความอุดมสมบูรณ์ และเชื่อว่าผืนดินที่นำพาความสมบูรณ์มา
ให้นี้มีเทพซึ่งเป็นผู้หญิงคอยดูแลปกป้อง สำหรับหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าวัฒนธรรมฮารัปปามี
ความเชื่อในเรื่องเทพพระแม่เช่นเดียวกัน คือ การค้นพบประติมากรรมดินเผารูปผู้หญิงเป็น
ี
ี
จำนวนมาก แต่กระนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่ารูปปั้นทุกชิ้นจะต้องหมายถึงเทพพระแม่หรือ
เกี่ยวข้องกับศาสนา โดยชิ้นที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อ ได้มีผู้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า มักจะทำเป็นรูปปั้น
ั
ผู้หญิงหุ่นผอมเพรียว มีเครื่องประดับศีรษะรูปพด ใส่ผ้านุ่งสั้น สวมเครื่องประดับหลากหลาย
ประเภทไม่ว่าจะเป็น สร้อยคอ กำไลต้นแขน (armlets) กำไลข้อมือ กำไลข้อเท้า (anklets)
และต่างหู ประติมากรรมเหล่านี้อาจจะเป็นรูปปั้นที่ใช้ในการบูชาประจำครัวเรือนหรือใช้ในการ
ประกอบพิธีกรรมภายในบ้านก็เป็นได้
ี
นอกจากเทพพระแม่แล้วยังมีการเคารพบูชาเทพเจ้าผู้ชายด้วย การสันนิษฐานดังกล่าว
ได้มาจากการค้นพบตราประทับรูปผู้ชายสวมเครื่องประดับคล้ายเขาควาย นั่งขัดสมาธิอยู่บนยก
ื้
พน แวดล้อมไปด้วยสัตว์ 4 ชนิด คือ ช้าง แรด ควายและเสือ ใต้ยกพนปรากฏละมั่ง
ื้
(antelope) 2 ตัว จอห์น มาแชล ผู้ขุดค้นเมืองโหเหนโจ ดาโร ได้ตั้งข้อสังเกตว่ารูปเทพเจ้า
ผู้ชายจากตราประทับนี้มีความคล้ายคลึงกับพระศิวะ เทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูซึ่งมีชื่อ
6
เรียกอีกชื่อว่า “มหาโยคี” (Mahayogi) หรือ พระปศุบดี (Pashupati) ประกอบกับการพบหิน
รูปคล้ายลึงค์ (เครื่องเพศผู้ชาย) และโยนี (เครื่องเพศผู้หญิง) ซึ่งในวัฒนธรรมฮารัปปาอาจบูชา
รูปเครื่องเพศเหล่านี้โดยการนำไปโยงกับเรื่องความอุดมสมบูรณ์และพลังแห่งการก่อกำเนิด
ทั้งนี้ มีความเป็นไปได้ว่าความเชื่อในเรื่องเทพเจ้าแห่งสัตว์ป่าและความเชื่อที่แสดงออกมาในรูป
5 Upinder Singh. A History of Ancient and Early Medieval India from the Stone Age to the 12 Century,
th
p. 170.
6 แปลว่า เจ้าแห่งหมู่สัตว์