Page 281 - 006
P. 281
270
จิตรกรรมอินเดียสมัยประวัติศาสตร์
5
สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ตามช่วงเวลา คือ
1. จิตรกรรมฝาผนังมีอายุตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 7-22 (คริสต์ศตวรรษที่ 2-17) ส่วน
ใหญ่อยู่ในอินเดียเหนือ มีอายุไม่เกินพุทธศตวรรษที่17 (คริสต์ศตวรรษที่ 12) ส่วนในอินเดียใต้มี
อายุลงมาถึงพุทธศตวรรษที่ 22 (คริสต์ศตวรรษที่ 17)
2. จิตรกรรมขนาดเล็ก เป็นที่นิยมหลังการเข้ามาของมุสลิม ส่วนใหญ่มีอายุไม่เก่ากว่า
พุทธศตวรรษที่ 15 (คริสต์ศตวรรษที่ 10)
จิตรกรรมสมัยคุปตะและหลังคุปตะ
จิตรกรรมสมัยคุปตะยังคงเป็นการแสดงออกในเรื่องของศาสนา ส่วนใหญ่เป็นจิตรกรรม
ั
ฝาผนังในถ้ำ โดยศิลปินที่สร้างงานขึ้นมา คือ พระสงฆ์ ภาพในสมัยนี้มีการพฒนาทางด้าน
เทคนิคในระดับสูงขึ้น ลักษณะของภาพจะมีความเรียบง่ายและแสดงออกซึ่งความผาสุก ความ
สวยงามของภาพถูกแสดงออกด้วยจิตวิญญาณอันสูงส่งและบริสุทธิ์ภายใน โดยตัวอย่าง
จิตรกรรมสมัยคุปตะที่เด่นชัดคือ จิตรกรรมที่ถ้ำอชันตา
จิตรกรรมที่ถ้ำอชันตา
ปรากฏเป็นภาพเขียนประดับผนัง เสา และเพดานถ้ำ ในปัจจุบันนี้มีเพียง 6 ถ้ำเท่านั้นที่
6
ยังหลงเหลืองานจิตรกรรมดังกล่าว ได้แก่ ถ้ำหมายเลข 1, 2, 9, 10, 16 และ 17 โดยถ้ำ
หมายเลข 9 และ 10 เป็นงานที่ผลิตขึ้นในสมัยราชวงศ์ศุงคะ ส่วนที่เหลือวาดขึ้นในสมัยราชวงศ์
ุ
คุปตะ ภาพเขียนที่ถ้ำอชันตาเป็นภาพในพทธศาสนา แสดงถึงชาดกต่างๆ ราว 30 เรื่อง และ
ภาพพุทธประวัติบางตอน การออกแบบองค์ประกอบของภาพจะใช้วิธีทางทัศนียภาพแบบทับ
ซ้อนกันให้ดูใกล้ไกลตา และจัดวางภาพคนและอื่นๆให้แน่นเต็มพนที่ภาพ คล้ายกับการจัด
ื้
องค์ประกอบของงานประติมากรรม ภาพบุคคลสำคัญก็มักวาดให้เด่นเป็นพเศษด้วยขนาดและ
ิ
สีสันสว่างชัดเจน จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของจิตรกรรมอชันตา คือ จิตรกรสามารถจับอารมณ์และ
ท่วงท่าอากัปกิริยาของตัวละครในภาพได้อย่างเฉลียวฉลาด เช่น ภาพคนแสดงอาการครุ่นคิด
7
เศร้าโศกเสียใจ ตื่นเต้นดีใจ เป็นต้น
การวาดจิตรกรรมฝาผนังตามตำราวิษณุธรรโมตระ ปุราณะ (Vishnudharmottara
Purana) จะเตรียมผนังซึ่งใช้ปูนฉาบลงไปชั้นหนึ่ง ชั้นปูนนี้ประกอบด้วยเศษอิฐป่น ทรายและ
ปูนขาว (ยางเหนียวและขี้ผึ้งถูกผสมลงในปูนขาวในอัตราส่วนที่เท่ากันด้วย) ส่วนผสมดังกล่าวนี้
ก่อนที่จะเอามาฉาบจะถูกเก็บไว้ในน้ำเปลือกผักขมหิน (bark of picchila) เป็นเวลา 1 เดือน
ิ
เมื่อเอามาฉาบนั้น ในกระบวนการนี้จะต้องพจารณาว่าไม่ให้บางหรือหนามากจนเกินไป
หลังจากนั้นทิ้งไว้ให้แห้ง แล้วจึงฉาบทับอีกครั้งด้วยดินที่ผสมกับของเหลวจากต้นสาละ (Shorea
5 จิรัสสา คชาชีวะ, โบราณคดีอินเดีย, หน้า 522.
6 Percy Brown. (1920). The Heritage of India Indian Painting. London: Oxford University Press, p. 27.
7 กำจร สุนพงษ์ศรี, ประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดีย, หน้า 181.