Page 250 - 006
P. 250

239


                                                        บทที่ 13

                                                      ศิลปะอินเดีย
                                                     (ประติมากรรม)


                          ประติมากรรมอินเดียปรากฏหลักฐานมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ดังปรากฏ

                   หลักฐานในวัฒนธรรมจอร์เว (Jorwe Culture) ในแถบเดคข่าน โดยการพบประติมากรรม
                   ผู้หญิงและวัวทำจากดินเผา กำหนดอายุอยู่ในราว 3,400 ปีมาแล้ว (1,400 – 800 ปีก่อน
                   คริสตกาล) ประติมากรรมดินเผารูปผู้หญิงปราศจากศีรษะและอยู่ในร่างที่เปลือยเปล่า มีรูอยู่

                   ตรงกลางลำตัว ส่วนตุ๊กตารูปวัวมีรูอยู่ตรงกลางหลัง เมื่อนำแท่งไม้มาเสียบเข้ารูทั้งสอง ตุ๊กตา
                   ผู้หญิงจะอยู่ในท่านั่งบนหลังวัวไปโดยปริยาย มีผู้ให้ความเห็นว่า ตุ๊กตาทั้งสองชิ้นนี้อาจเป็น

                   ต้นแบบของแนวคิดเกี่ยวกับสัตว์ที่เป็นพาหนะ (Vahana) ของเทพเจ้า ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญใน
                   ศาสนาฮินดูยุคต่อมาในภายหลัง
                                               1
                                                                                   ื้
                          ในขณะที่วัฒนธรรมฮารัปปา ซึ่งเป็นสังคมเมืองที่แตกต่างจากพนที่อื่นๆในอินเดียใน
                   ช่วงเวลาเดียวกันได้พบประติมากรรมที่ทำจากหินและสำริดฝีมือดี โดยประติมากรรมชิ้นที่มี
                   ความโดดเด่นที่สุด คือ รูปสลักครึ่งตัวของชายมีเครา จากแหล่งโบราณคดีโมเหนโจ ดาโร ดังที่ได้

                   กล่าวรายละเอียดไว้แล้วในบทที่ 3 นอกจากนี้ ยังพบประติมากรรมจากหินอลาบัสเตอร์อีก 2
                   ชิ้น รูปหนึ่งเป็นรูปชายครึ่งตัวที่ปราศจากศีรษะ แขนและขา มีท่าทางบิดเอี้ยวกายและยกเท้า
                   ข้างซ้ายขึ้น ส่วนอีกรูปหนึ่งเป็นประติมากรรมชายครึ่งตัวที่ปราศจากศีรษะ แขน และขา โดยสิ่ง

                   ที่น่าสนใจของทั้ง 2 ชิ้น คือ กรรมวิธีในการแกะสลักส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น ศีรษะและแขน
                   ซึ่งมีการทำขึ้นต่างหากแล้วนำมาสวมใส่ประกอบในภายหลัง ทั้งนี้ งานโลหกรรมในสมัยนี้ก็

                   น่าสนใจ จากประติมากรรมรูปหล่อสำริด เป็นรูปหญิงสาวยืนเปลือยกาย สวมสร้อยคอ แขนขวา
                   เท้าเอว แขนซ้ายวางพกบนขาข้างซ้าย โดยใส่กำไลเป็นเครื่องประดับตั้งแต่ข้อมือถึงต้นแขน
                                       ั
                   ส่วนแขนขวาประดับกำไลเพียงเล็กน้อย จากลักษณะทางกายวิภาค สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นชาว

                   พื้นเมือง


























                          1  Madhukar Keshav Dhavalikar. (1997). Indian Protohistory. New Delhi: Books and Books, pp. 206-208.
   245   246   247   248   249   250   251   252   253   254   255