Page 242 - 006
P. 242
231
ระหว่างแบบนคราและฑราวิท โดยมีอาคารจำลองประดับซ้อนกันขึ้นไปเป็นแนวตั้งแบบนค
ราแต่กลับแบ่งเป็นชั้นๆเหมือนกับฑราวิท ต่อมาตัวศิขรในแต่ละชั้นจะประดับไปด้วย
ี
ประติมากรรมรูปยักษ์หรือเทพ ในขณะที่ช่วงที่สามศิขรจะถูกออกแบบให้เป็นทรงโค้งมองดู
คล้ายร่มเตี้ยๆ
• ตั้งแต่ส่วนล่างไปจนถึงบนสุดของอาคารเต็มไปด้วยประติมากรรมและเสาที่มีการ
แกะสลัก ภายในเทวาลัยก็เต็มไปด้วยการตกแต่งกรอบประตู เสา และเพดานที่เต็มไปด้วย
ความหรูหรา
• ตัวอย่างเทวาลัยที่สร้างขึ้นในรูปแบบเวสะระที่ดีได้แก่ เทวาลัยมหาเทวะที่เมือง
อิตะคิ (Itagi) และเทวาลัยเกชะวะ (Keshava) ที่เมืองโสมานาถปุระ (Somanathapura) ใน
รัฐกรรนะตะกะ
ภาพที่ 81 สถาปัตยกรรมแบบเวสะระ
ที่มา : https://upload.wikimedia.org/ /[Online], accessed 10 September 2018.
สถาปัตยกรรมสกุลช่างโอริสสา
นอกจากรูปแบบสถาปัตยกรรมหลักได้แก่ นครา ทราวิฑ และเวสะระแล้ว ยังมี
สถาปัตยกรรมในบางพื้นที่ที่มีรูปแบบเฉพาะนั่นคือ สถาปัตยกรรมสกุลช่างโอริสสา (Orissa)
หรือรู้จักกันในชื่อว่า แบบกลิงคะ (Kalinga style) ซึ่งถือว่ารูปแบบสถาปัตยกรรมมีลักษณะ
เด่นแบบอินเดียเหนือ ดังนั้น จึงถูกจัดอยู่ในสถาปัตยกรรมแบบ นคราด้วย อย่างไรก็ดี สกุล
ช่างโอริสสามีรูปแบบเฉพาะที่แตกต่างออกไปจากนคราด้วยเช่นเดียวกัน โดยเราสามารถแบ่ง
สถาปัตยกรรมนี้ได้ 3 แบบด้วยกัน คือ เรข (Rekha) ปิฐะ (Pidha) และขขระ (Khakhar)
ทั้งนี้ เรข และปิฐะมักเป็นรูปแบบที่สร้างถวายให้กับพระวิษณุและพระศิวะ ซึ่งจะแตกต่าง