Page 222 - 006
P. 222
211
สมัยคุปตะ-หลังคุปตะ
สมัยคุปตะ-หลังคุปตะ (พทธศตวรรษที่ 9-13 หรือ คริสต์ศตวรรษที่ 4-8) ได้รับการ
ุ
ยอมรับว่าเป็นยุคทองหรือยุคแห่งความรุ่งโรจน์ในงานด้านศิลปกรรม ผลงานศิลปะสาขา
ั
ต่างๆได้รับการสร้างสรรค์และพฒนาไปสู่ความงามขั้นสูงสุดจนกลายเป็นต้นแบบและแบบ
ฉบับให้กับในยุคสมัยต่อๆมา อย่างไรก็ดี นอกจากราชวงศ์คุปตะที่ปกครองอินเดียทาง
ภาคเหนือแล้ว ยังปรากฏราชวงศ์อื่นอีกที่อยู่ร่วมสมัยเดียวกัน ได้แก่ วากาฏกะ (Vakatakas)
กดัมพะ (Kadambas) วรรมัน (Varmans) และหูณะ (Hunas) ถึงแม้ว่าจะเป็นแคว้นที่เล็ก
กว่าแต่ก็ได้สร้างผลงานศิลปะไว้ในที่ต่างๆหลายแห่ง เป็นต้นว่า ราชวงศ์วากาฏกะ ได้สร้าง
สถาปัตยกรรมถ้ำที่อชันตา เอลโลรา และที่อื่นๆอีกมาก ดังนั้น จึงถือว่าราชวงศ์คุปตะเป็น
ื้
แบบอย่างให้แก่ช่างฝีมือและศิลปินในพนที่อื่นๆในอินเดีย ในสมัยนี้จะขอเรียกลักษณะทาง
ศิลปะว่าเป็นศิลปะแบบคุปตะ-หลังคุปตะ และเรียกชื่อผู้สร้างตามราชวงศ์อื่นๆแตกต่างกัน
ออกไป ตามหลักฐานที่ปรากฏชัดเจนว่าใครเป็นผู้สร้าง
สถาปัตยกรรมในสมัยนี้ ยังคงเหมือนสมัยก่อนหน้า คือ มีทั้งสถูป สถาปัตยกรรมถ้ำ
หรือถ้ำที่ขุดเข้าไปในภูเขา และที่เห็นได้อย่างชัดเจนในสมัยนี้คือ ศาสนสถานที่สร้างขึ้น
กลางแจ้ง
สถูป
บรรดาสถูปในสมัยคุปตะมักถูกทำลายเสียโดยมาก ที่เก่าที่สุดคือที่ตั้งอยู่ ณ เมือง
ตักษิลาและฉารสัท (Charsada) ในแคว้นคันธาระ ซึ่งสถูปสมัยคันธาราฐใช้อิฐก่อและปั้นปูน
ุ
เป็นเครื่องตกแต่ง สถูปสมัยต่อมาคือคุปตะ ตั้งแต่ราวพทธศตวรรษที่ 11 หินก็เข้าไปปนอยู่
กับอิฐดิบและอิฐที่เผาไฟแล้ว และการก่อตั้งบางครั้งก็ใช้เดือยเหล็กด้วย รูปร่างของสถูปสมัย
นี้ได้เปลี่ยนแปลงไปมากคือ สูงขึ้นยิ่งกว่าแต่ก่อน ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสขยายใหญ่ยิ่งขึ้น องค์
ระฆังมีขนาดเล็กลงมีรูปร่างกลมหรือสอบเข้าข้างบน สถูปแบบนี้เป็นสถูปที่ไปปรากฏนอก
ประเทศอินเดีย เป็นต้นว่าที่เกาะชวา ในประเทศไทยและทิเบต
25
์
ิ
สำหรับลวดลายเครื่องประดับสถูปมีทั้งที่เป็นลายปูนปั้น อิฐพมพ หรือสลักลงไปใน
ุ
ตัวสถูป ลายเหล่านี้อาจเป็นลายลวดบัว ลายเสา ลายกุฑ ประติมากรรม หรือภาพสลักและ
มักระบายสีประกอบ เป็นต้นว่า สีแดง ทอง และดำ ภาพสลักมักใช้ประดับฐานสถูป แต่
พระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์ก็ก็ประดิษฐานอยู่ภายในซุ้มมีลายกุฑุอยู่เบื้องบนและใช้ประดับ
ผนัง สถูปแบบนี้แพร่ออกไปยังนอกประเทศอินเดียเช่นเดียวกัน
สถาปัตยกรรมถ้ำ
• ถ้ำอชันตา หมายเลข 19 เป็นถ้ำที่มีซุ้มประตูทางเข้าที่งดงามที่สุดในบรรดาถ้ำ
ทั้งหมดของอชันตา สร้างขึ้นในราวพทธศตวรรษที่ 10 (คริสต์ศตวรรษที่ 5) ในลัทธิมหายาน
ุ
บริเวณด้านหน้าประกอบไปด้วยเสาศิลาขนาดใหญ่ 2 ต้นตรงประตูทางเข้า เหนือขึ้นไปเป็น
หน้าตาสลักเป็นทรงวงโค้งรูปเกือกม้า หน้าต่างแต่ละด้านมีประติมากรรมรูปยักษ์ซึ่งประดับ
ประดาด้วยอัญมณีที่งดงาม ในขณะที่ พนที่ว่างอื่นๆบริเวณทางเข้าด้านหน้าล้วนสลักเป็น
ื้
25 สุภัทรดิศ ดิศกุล. (2534). ศิลปะอินเดีย. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา, หน้า107.