Page 161 - 006
P. 161
150
การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช โดยมีข้าหลวงระดับสูงคอยให้คำปรึกษาและบริหาร
ราชการแผ่นดิน จุดเด่นของราชวงศ์โจฬะคือ การตั้งยุวราชา (Yuvaraja) หรือผู้สืบราชสันตติ
วงศ์ให้ช่วยงานราชการในระหว่างที่กษัตริย์ยังไม่สิ้นพระชนม์ ซึ่งตามปกติแล้วผู้สืบราชสันตติ
วงศ์ดังกล่าวมักจะเป็นพระโอรสองค์โต แต่หากพระโอรสองค์ดังกล่าวไม่สามารถเป็นผู้สืบทอดได้
ก็มักจะมีการคัดเลือกกันในบรรดาพระโอรสองค์อื่นๆ หรือแม้แต่พระเชษฐาและพระอนุชาของ
กษัตริย์เองก็ได้รับการคัดเลือกด้วย ดังนั้น ด้วยวิธีปฏิบัติเช่นนี้จึงทำให้ไม่เกิดสงครามเพื่อแย่งชิง
ราชบัลลังก์ในราชวงศ์โจฬะเลย
กองทัพของโจฬะเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ได้รับการกล่าวถึงกันมาก เป็นไปได้ว่ากองทัพจะ
ประกอบไปด้วยทหารกว่า 150,000 คน ช้างศึกอีกกว่า 60,000 เชือก มีทั้งทหารราบ ทหารเรือ
และทหารม้า โดยได้มีการนำเข้าม้าที่ดีที่สุดจากตะวันออกกลาง กองทัพเรือเป็นอีกหน่วยงาน
ื่
หนึ่งที่มีชื่อเสียง เนื่องจากสามารถยกทัพไปโจมตีลังกาและศรีวิชัยเพอปกป้องผลประโยชน์
ื่
การค้าทางทะเลไว้ได้ ในยามสงบทหารเหล่านี้จะอาศัยอยู่ในค่ายทหารเพอฝึกซ้อมและเตรียม
ความพร้อม กษัตริย์จะมีองครักษ์ส่วนพระองค์เพื่อป้องกันการลอบทำร้าย อย่างไรก็ดี ในการทำ
สงครามกองทัพของโจฬะกลับมีชื่อเสียงในทางเลวร้าย เนื่องจากกษัตริย์ไม่มีธรรมยุทธ
(Dharma Yudha) หรือศีลธรรมแห่งการรบ เพราะเกิดการฆ่าฟันพลเรือนรวมถึงผู้หญิง ซึ่งเป็น
สิ่งที่ไม่ควรทำแม้จะอยู่ในภาวะสงครามก็ตาม
ในส่วนของรายได้ของรัฐนั้นได้มาจากภาษีที่ดิน โดยรัฐจะเรียกเก็บทั้งเงินสดและผลิตผล
ทางการเกษตร นอกจากภาษีที่ดินแล้ว ภาษีการค้า ป่าไม้ การทำเหมืองแร่ และเกลือ ก็เป็น
รายได้ของรัฐอีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ แม้รัฐจะมีความเข้มงวดในการเก็บภาษีที่ดิน แต่ก็มีความ
ั
พยายามที่จะพฒนาระบบชลประทาน เห็นได้ชัดเจนว่ารัฐมีการสร้างเขื่อนหลายแห่งในแม่น้ำ
กาเวริ (Kaveri) และมักจะทำทะเลสาบเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการเกษตรอีกด้วย
2) การให้ท้องถิ่นปกครองตนเอง รูปแบบการบริหารบ้านเมืองที่โดดเด่นอย่างหนึ่ง
ของโจฬะคือ การที่ให้ท้องถิ่นมีคณะปกครองเป็นของตนเอง ซึ่งไม่เคยมีราชวงศ์ใดในอินเดียทั้ง
เหนือหรือใต้จะมีการจัดการในลักษณะนี้ โดยเริ่มตั้งแต่ระดับหมู่บ้านซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดใน
การปกครอง ก็จะมีมหาสภา (Mahasabha) ของแต่ละหมู่บ้านที่แสดงบทบาทการบริหาร
จัดการอยู่ ในระดับหน่วยปกครองที่สูงขึ้นไปได้แก่ กุรรัม (Kurrams) หรือโกตตัม (Kottams)
นะฑุ (Nadus) และมณฑล (Mandals) ต่างก็มีมหาสภาคอยช่วยงานบริหารบ้านเมืองของตัวเอง
อยู่ทั้งสิ้น
ทั้งนี้ การตั้งมหาสภาในระดับหมู่บ้าน จะเริ่มจากการแบ่งหมู่บ้านเป็น 30 เขต แต่ละ
เขตจะเสนอชื่อผู้ที่มีความสามารถและมีความรู้เกี่ยวกับพระเวท โดยจะต้องมีคุณสมบัติเป็น
เจ้าของที่ดินอย่างน้อย 1 เอเคอร์ (Acre) หรือสร้างบ้านที่ปลูกอยู่บนที่ดินของตนเอง อายุ 35-
70 ปีและไม่เคยทำผิดหรือได้รับโทษในคดีใดๆ นอกจากนี้ ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อจะต้องไม่อยู่ใน
คณะกรรมการใดๆ อย่างน้อยเป็นเวลา 3 ปี และหากเคยได้รับการเสนอชื่อแล้วแต่ไม่ได้รับการ
รับเลือกก็ไม่มีสิทธิ์ได้รับการเสนออีกเช่นกัน ขั้นตอนต่อมา ชื่อของผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อจะถูก
จารลงบนใบปาล์มแล้วใส่ไว้ในหม้อ เด็กชายที่ได้รับการคัดเลือกจะหยิบรายชื่อขึ้นมา 1 ชื่อ ถือ