Page 119 - 006
P. 119
108
67 ปีก่อนคริสตกาล – คริสตศักราชที่ 20) เป็นหนังสือที่ให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพภูมิศาสตร์ของ
อินเดีย โดยสตราโบได้บรรยายเกี่ยวกับอินเดียไว้ว่า เป็นประเทศที่ขนาบด้วยทะเลทั้งสองด้าน
ในขณะที่ด้านเหนือและทางตะวันตกมีแม่น้ำสินธุ (Indus) และคงคา (Gangas) ล้อมรอบ
อย่างไรก็ตาม สตราโบไม่เคยมาเยือนอินเดียด้วยตัวของเขาเอง แต่อาศัยงานเขียนก่อนหน้า เช่น
บันทึกสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ยกทัพมาตีอินเดีย เป็นต้น
3. หนังสือประวัติศาสตร์ธรรมชาติของปลินี (The Natural History of Pliny) เขียน
โดยปลินีในราวพุทธศตวรรษที่ 7 (ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 1) ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเส้นทาง
การค้าทางทะเล และสินค้าของอินเดียที่ส่งออกไปโรมัน โดยได้เพิ่มเติมว่ามี ปะการัง ไม้มะเกลือ
(ebony) และพริกไทย (pepper)
4. หนังสือภูมิศาสตร์ของปโตเลมี (Ptolemy’s Geography) เขียนขึ้นโดยคลอดิอุส
ุ
ปโตเลมี (Claudius Ptolemy) ซึ่งเป็นนักดาราศาสตร์ชาวกรีกในช่วงราวปลายพทธศตวรรษที่
7 หรือต้นพุทธศตวรรษที่ 8 (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 2) ต้นฉบับเดิมสูญหายไปแล้ว เหลือแต่ฉบับ
ุ
ที่เขียนขึ้นโดยชาวไบแซนไทน์ในราวพทธศตวรรษที่ 15-16 (คริสต์ศตวรรษที่ 10-11) อย่างไรก็
ดี งานชิ้นนี้ได้ให้ข้อมูลในเรื่องเกี่ยวกับเมืองท่า และกิจกรรมทางการค้าของอินเดียได้เป็นอย่างดี
5. คริสเตียน โทโพกราฟี (Christian Topography) ผู้เขียนคือ Cosmas
Indicopleustes หรือ คอสมาสผู้ที่แล่นเรือไปอินเดีย เขาเป็นพ่อค้าที่อาศัยอยู่ที่เมืองอเล็กซาน
เดรีย ประเทศอียิปต์ และได้เขียนผลงานชิ้นนี้ขึ้นในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 12 (คริสต์ศตวรรษ
ที่ 6) จากประสบการณ์ที่ได้ล่องเรือไปทำการค้าในบริเวณทะเลแดง (Red Sea) และมหาสมุทร
ั
อินเดีย (Indian Ocean) งานชิ้นนี้ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับลักษณะภูมิประเทศ พนธุ์พช และสัตว์
ื
ต่างๆของอินเดีย รวมไปถึงกิจกรรมทางการค้าของอินเดียกับประเทศทางฝั่งตะวันตก
6. งานเขียนของชาวทมิฬในยุคสังคัม เป็นต้นว่า สิลปัททิการัม (Silapaddikaram)
มณิเมขาลัย (Manimekhalai) นักกิราร์ (Nakkirar) และมูลไลปัตตุ (Mullaipattu) งานเขียน
เหล่านี้ยังได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการปรากฏขึ้นของ “ยะวะนะ” (Yavanas) ในอินเดีย โดยในงาน
เขียนของชาวทมิฬเหล่านี้ ได้อ้างอิงถึงชาวยะวะนะว่ามีความเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการค้า
หลากหลายรูปแบบด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น ช่างไม้ พ่อค้านำเข้าไวน์ หรือแม้แต่ผู้หญิงชาวยะวะนะ
ที่อยู่ในฮาเร็มของเศรษฐี เอกสารเหล่านี้นับว่าเป็นหลักฐานที่ทรงคุณค่าที่ให้ภาพการค้าขายทาง
ทะเลสมัยโบราณระหว่างอินเดียและตะวันตกได้เป็นอย่างดี
หลักฐานประเภทโบราณวัตถุ
1. ภาชนะดินเผาแบบเตอร์รา ซิคิลลาต้า (Terra Sigillata) หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า
ภาชนะแบบอารีไทน์ (Arretine ware) ภาชนะดินเผาประเภทนี้เป็นภาชนะเนื้อดีมีพื้นผิวเป็นสี
แดงมันวาว เป็นภาชนะที่นิยมผลิตกันในราวพุทธศตวรรษที่ 6 หรือในช่วง 25 ปีก่อนคริสตกาล
– คริสตศักราช 50 แต่เดิมเชื่อว่ามันถูกผลิตเป็นพเศษที่เมือง อาเรติอุ้ม (Arretium) ปัจจุบันคือ
ิ
ิ
เมืองอเรซโซ (Arezzo) ในแคว้นทัสคานี (Tuscany) ประเทศอิตาลี แต่ต่อมาได้รับการพสูจน์
แล้วว่ามันถูกผลิตขึ้นในเมืองต่างๆอีกหลายเมือง เช่น เมืองปุเตโอลิ (Puteoli) โมเดน่า
(Modena) และริมินิ (Rimini) อีกทั้งแพร่หลายไปทั่วยุโรปไม่ว่าจะในแถบแม่น้ำไรน์ (Rhine)